TCAS ย่อมาจาก Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ เมื่อน้องผ่านสอบข้อเขียนกระทั่งเข้าไปถึงรอบสัมภาษณ์ได้แล้ว นั่นก็คือ Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานนั่นเองค่ะ พอร์ตที่ดีต้องสามารถดึงดูดคณะกรรมการให้เปิดเข้าไปดูได้ ดังนี้
ความน่าเชื่อถือได้
ถึงแม้จะยังเป็นนักเรียนอยู่ สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือความน่าเชื่อถือ แล้วจะดูยังไงว่า Portfolio ที่น้อง ๆ ทำนั้นน่าเชื่อถือ อย่างแรกเลยคือ ไม่ควรใช้ธีมสีสันฉูดฉาด ให้ดีควรจะไม่เกินสามสีและควรเป็นสีโทนสุภาพ ตลอดจนการสะกดคำหรือหลักภาษา (Gramma) ควรจะถูกต้องที่สุด อีกสิ่งที่ต้องใส่ใจคือตัวอักษร (Font) ควรจะอ่านง่าน ไม่ลายตา และไม่ควรเป็นอักษรแฟนซีต่าง ๆ
รูปถ่ายและข้อมูลส่วนตัว
เอกสารพื้นที่ยังไงก็ต้องมีใน Portfolio น้องสามารถใส่ทุกอย่างที่ต้องการจะบอกคณะกรรมการ แต่ก็จะมีบางจุดเล็ก ๆ ที่หลายคนมองผ่านทั้งที่ไม่ควร เช่น รูปภาพไม่ควรจะเป็นภาพที่ดูไม่จริงจัง หรือไม่เหมาะสมจนเกินไป หรือกระทั่งชื่ออีเมล น้อง ๆ ทราบไหมคะ ชื่ออีเมลที่ดีไม่ควรมีตัวเลขหรือภาษาตัวสะกดแปลก ๆ เช่น Lovely_zaza1234@xx.com อย่างนี้ไม่ไหวนะคะ ควรจะเป็น ชื่อ.นามสกุล@xx.com หรือ ชื่อ_นามสกุล@xx.com แบบนี้จะดีกว่า
Bi-language
การทำ Portfolio เป็น 2 ภาษาถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะลำพังวิชาพื้นฐานที่น้องคิดว่าตัวเองทำได้ดีแล้ว อย่าลืมว่าคนอื่นเค้าก็ดีไม่แพ้เรานะคะ จึงจำเป็นต้องทำให้กรรมการเห็นว่านอกจากวิชาพื้นฐานตามหลักสูตร กิจกรรมต่าง ๆ ที่แนบมาในพอร์ตแล้ว น้องยังมีความสามารถ ศักยภาพ หรืออาจจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะใช้ภาษาที่สอง เรียกคะแนนได้ไม่น้อยเชียวค่ะ
ความเป็นตัวเอง
หากน้อง ๆ Admission ในขณะที่ต้องใช้ความ Creative ก็ควรทำ Portfolio ให้เป็นแนวกึ่ง ๆ วิชาการ แสดงความเป็นตัวตนเข้าไปในพอร์ตเพื่อสื่อให้เห็นว่าตัวเรามีความชอบและความสนใจในด้านนี้จริง ๆ หรือน้องคนไหนที่เลือกแอดฯ สาขาที่ที่ค่อนข้างวิชาการ Portfolio ก็ควรจะเป็นอะไรที่เรียบง่าย ดูวิชาการ ส่วนความชอบที่จะแสดงออกก็ให้เน้นไปทางใบประกาศหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ผลงานและกิจกรรม
นอกจากผลการเรียนที่เป็นเอกสารพื้นฐานที่ควรมีไว้ใน Portfolio แล้ว สิ่งสำคัญและจำเป็นมาก ๆ เพื่อจะแสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ก็คือผลงาน กิจกรรม หรือใบประกาศต่าง ๆ ที่สะสมมาแต่เด็กแต่น้อย แต่ถ้าหากว่าน้องมีใบประกาศหรือกิจกรรมที่ทำเยอะมาก ๆ แนะนำว่าควรเขียนเป็นข้อ ๆ ออกมาแล้วเลือกแนบใบประกาศที่คิดว่าจะดึงดูดกรรมการให้ซักถามต่อได้เท่านั้นพอ
โดยประสบการณ์รอบสัมภาษณ์ทั้งจากของตัวเองและเพื่อน ๆ เราพบว่าคณะกรรมการบางท่านไม่เปิด Portfolio เลย หรือเปิดแค่ผ่าน ๆ ซึ่งสามเหตุมาจากความซ้ำ ๆ ความไม่น่าดึงดูดไม่น่าสนใจ แต่ถ้าน้องสามารถทำให้ Portfolio ของตัวเองดึงดูดสายตากรรมการได้ ก็จะเป็นการเพิ่มคะแนนในส่วนนี้ได้มากขึ้นอีกด้วย การทำ Portfolio เพื่อพิชิต TCAS ไม่ยากเลย ลองเอาไปทำตามได้นะคะ
โทร: 081-470-8060 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
บทความล่าสุดอื่นๆ