หน้าแรก » บทความ » เดาข้อสอบ อย่างมีกลยุทธ์

เดาข้อสอบ อย่างมีกลยุทธ์

แชร์หน้านี้ Line
พี่ๆ ติวเตอร์จุฬา เเนะนำบทความเรื่อง การเดาข้อสอบ อย่างมีกลยุทธ์ มีเทคนิคในการเดายังไง ลองอ่านกันดูนะคะ
 
          เมื่อทำข้อที่คิดว่าทำได้ไปหมดเเล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาเดาข้อสอบเเล้วใช่ไหมคะ
          งั้นฝนตัวเลือกลงไปแบบสุ่มๆ เลยเเล้วกัน
          เดี๋ยวค่ะ อย่าเพิ่งทำเเบบนั้น
          เพราะเชื่อไหมว่า เเม้เเต่การเดาก็ยังมีหลักการที่ช่วยให้เราเดาได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
 
          ในการสอบปกติ เราทุกคนน่าจะเคยเห็นคนรอบตัวเราข้อสอบกันมาบ้างเเล้ว รูปแบบการเดาข้อสอบที่เป็นที่นิยม สำหรับผู้เข้าสอบที่ทำไม่ได้เลยก็คือ
การทิ้งดิ่ง
 
          นั่นคือ การฝนตัวเลือกเดียวกันทั้งหมด เช่น ตัวเลือกที่ 3 ทุกๆ ข้อในข้อสอบ
 
          เวลามองกระดาษคำตอบ เราก็จะเห็นตัวเลือกทั้งหมดเรียงกันเป็นเเนวดิ่ง นั่นเเหละค่ะที่มาของชื่อ
 
          หรือบางคนอาจจะทิ้งดิ่งเเบบอื่น เช่น ข้อ1-10 เลือกตัวเลือกที่1 ข้อ11-20 เลือกตัวเลือกที่2 ก็เเล้วเเต่สูตรใครสูตมันค่ะ การเดาไม่มีผิดไม่มีถูกอยู่เเล้ว ตอนเดาไม่ต้องคิดอะไร เเต่ตอนเห็นคะเเนนคงต้องคิดหนัก
 
 
          สำหรับผู้เข้าสอบที่ตัดสินใจว่าจะเดาข้อสอบ การทำเเบบนี้มีข้อดีอยู่ 2 ประการ
 
          ประการเเรก การเดาเเบบทิ้งดิ่งนี้ไม่ต้องใช้ความคิดมากเเละทำได้รวดเร็ว
 
          ประการที่สอง ผู่เข้าสอบมั่นใจว่า จะต้องได้คะเเนนบ้างจากการสอบนี้เเน่นอน
 
          ในความเป็นจริง เขามีโอกาสได้คะเเนนถึง 25% เชียวเเหละ จากข้อสอบเเบบ 4 ตัวเลือก
 
          เเต่โอกาสที่จะได้คะเเนนมากกว่านั้นมีค่อนข้างน้อย เเละคงไม่มีใครเคยเจอผู้เข้าสอบที่ทิ้งดิ่งเเล้วได้คะเเนนเต็มใช่ไหมคะ เพราะในการออกข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบเเบบมาตรฐานที่ใช้ในการสอบระดับใหญ่ๆนั้น การกระจายน้ำหนักของเเต่ละตัวเลือกมีความสำคัญมาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันผู้เข้าสอบที่เดาข้อสอบเเบบทิ้งดิ่ง
 
         ตัวอย่างเช่น ข้อสอบ 100 ข้อเเบบ 4 ตัวเลือก เป็นไปได้มากกว่าผู้เข้าสอบจะกระจายตัวเลือกดังนี้
         ตัวเลือกที่ 1 จำนวน 25 ข้อ
         ตัวเลือกที่ 2 จำนวน 25 ข้อ
         ตัวเลือกที่ 3 จำนวน 25 ข้อ
         ตัวเลือกที่ 4 จำนวน 25 ข้อ
 
         หรือถ้าจะผิดจากนี้จากนี้ก็ไม่มากนัก นั่นทำให้ข้อสอบมีการกระจายตัวเลือกอย่างเท่าเทียม เเละทำให้ผู้สอบที่เดาเเบบทิ้งดิ่งไม่ได้ คะเเนนเยอะเกินกว่าคนที่ทำข้อสอบได้ เเม้ว่าเข้าอาจจะมีคะเเนนติดตัวราวๆ 25% จากการเดาก็ตาม
 
         อย่างไรก็ตาม การออกข้อสอบเเบบนี้ไม่ได้ช่วยป้องกาฃันการเดาข้อสอบเเบบทิ้งดิ่งเท่านั้นนะคะ เเต่ยังช่วยให้คนที่ทำข้อสอบได้สามารถเดาข้อที่ทำไม่ได้ เพื่อให้มีโอกาสได้คะเเนนเยอะขึ้นอีกด้วย
 
         ข้อมูลด้านล่างนี้เป็น เทคนิตในการเดาข้อสอบ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้
 
 

เทคนิคในการเดาข้อสอบ เมื่อคุณทำข้อที่เหลือไม่ได้

 
         1. นับตัวเลือกที่่ตอบไม่ได้ โดยเฉพาะข้อที่มั่นใจ เเยกกันระหว่างตัวเลือกที่ 1 2 3 เเละ 4 ว่ามีตัวเลือกละกี่ข้อ เช่น สมมตข้อสอบมี 100 ข้อ เราทำได้เพียง 80 ข้อ เเละนับจำนวนข้อที่ฝนไปแล้วในเเต่ละตัวเลือกได้ดังนี้
             ตัวเลือกที่ 1 ฝนไปแล้ว 27 ข้อ
             ตัวเลือกที่ 1 ฝนไปแล้ว 31 ข้อ
             ตัวเลือกที่ 1 ฝนไปแล้ว 17 ข้อ
             ตัวเลือกที่ 1 ฝนไปแล้ว 5 ข้อ
 
         2. ฝนตัวเลือกที่เหลือ โดยเริ่มจากตัวเลือกที่มีการฝนน้อยที่สุด เเละฝนให้เข้าใกล้ค่าเฉลี่ยที่ 25% เช่น ข้อสอบข้างต้นมี 100 ข้อ เเต่ละตัวเลือกควรมีการฝนตอบประมาน 100 หาร 4 เท่ากับ 25 ข้อ
 
          การเดาข้อสอบเเบบนี้จะทำให้เรามีโอกาสได้คะเเนนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะนำไปใช้กับข้อสอบข้อที่ทำไม่ได้เลยเเล้ว ยังใช้กับข้อที่เราตัดตัวเลือกได้บางส่วนได้อีกด้วย เช่น จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าใน 20 ข้อที่เราทำไม่ได้นั้นมีหลายข้อที่เราไม่เเน่ใจระหว่างตัวเลือกที่ 1 กับตัวเลือกตัวที่ 3 การเลือกตอบตัวเลือกที่มีการฝนไปแล้วไปแล้วในข้ออื่นๆ น้อยกว่า ในกรณีนี้คือตัวเลือกที่ 3 ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้คะเเนนมากกว่าด้วย
          เทคนิคนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อสอบปรนัยเเลลเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เเม้เเต่ข้อสอบที่มีตัวเลือกมากกว่านี้อย่าง 5 ตัวเลือก หรือตัวเลือกน้อยกว่านี้อย่าง 2 ตัวเลือก ข้อสอบถูก-ผิด เราก็สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้เช่นเดียวกัน
 
          น้องๆ ลองนำเทคนิคนี้ที่พี่ๆ ทีมติวเตอร์จุฬาเเนะนำไปใช้ดูนะคะ ไม่เเน่อาจจะได้คะเเนนเพิ่มมาฟรีๆ จากข้อที่ทำไม่ได้เลยก็ได้

 

FB:  ติวเตอร์จุฬา รับสอนพิเศษที่บ้าน เรียนพิเศษที่บ้าน ชม.ละ180บาท
เว็บไซต์  www.tutorchulateam.com
โทร: 081-470-8060 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
แอด Line คลิก https://line.me/R/ti/p/%40xdz7574z
 
 

บทความล่าสุดอื่นๆ

เรียนพิเศษที่บ้าน ออนไลน์เลือกแบบไหนดี ในยุค2020 Covid19

ทำยังไงให้ตั้งใจเรียนในห้อง

เรียนพิเศษที่บ้าน เพื่อติวเพิ่มเกรดยังไง ในยุคcovid

ตัวช่วยอ่านหนังสือ