การเรียนพิเศษที่บ้านอย่างหวังผลได้นั้นต้องรู้จักที่จะประยุกต์ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เข้ากับการเรียนการสอน เพราะเรียนพิเศษที่บ้านค่อนข้างจะแตกต่างกับการเรียนในห้องเรียนปกติ และยิ่งเป็นการเรียนพิเศษที่บ้าน เพื่อเน้นติวหนังสือสอบแล้วด้วยก็ยิ่งต้องมีเทคนิคเรียนในแต่ละวิชา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะวิชาว่าเป็นประเภทไหน และเหมาะสมกับเทคนิคใด ประเภทของวิชาต่าง ๆ แบ่งออกเป็นดังนี้
วิชาเรียนประเภทท่องจำ
วิชาเรียนประเภทท่องจำได้แก่ กลุ่มวิชาที่ต้องอาศัยความจำเป็นส่วนใหญ่ เช่น วิชาสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาไทย ชีววิทยา การเรียนปกติในห้องเรียน คุณครูก็จะอธิบายเนื้อหาเป็นฉาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่พอฟังแล้วก็จะลืม เพราะฉะนั้น การเรียนพิเศษที่บ้านสามารถช่วยได้โดยใช้วิธีง่าย ๆ คือ
-
ให้ติวเตอร์สรุปเนื้อหาออกมาเป็นภาษาง่าย ๆ และใช้วิธีจดโน้ต จดยังไงก็ได้ให้ตัวเองรู้เรื่อง น่าอ่าน อ่านแล้วเข้าใจโดยไม่ต้องเปิดหนังสือเนื้อหายาว ๆ อีก แต่ก็ต้องแน่ใจว่าเนื้อหาที่สรุปออกมานั้นครบทั้งหมดแล้วจริง ๆ
-
จากนั้นเริ่มต้นทำแผนผังความคิด (Mine Map) หรือ Flow chart การทำผังออกมาแบบนี้จะทำให้เห็นภาพ สามารถเชื่อมโยงความเข้าใจต่าง ๆ ได้ดีมากกว่าอ่านเนื้อหายาว ๆ ในหนังสือ
-
ขึ้นชื่อว่าวิชาท่องจำ ยังไงก็ไม่พ้นต้องท่อง แต่เมื่อมีผังความคิดแล้วจะทำให้ไม่ต้องเหนื่อยจำมาก มองเป็นภาพรวม ๆ แล้วสรุปเป็นให้เป็นภาษาของตัวเองอยู่ในหัว พยายามมองให้เห็ฯภาพแล้วนึกให้ออกให้ได้มากที่สุด
-
หลังจากนั้นเชื่อว่าจะมีศัพท์ทางเทคนิคต่าง ๆ ที่มักจะนึกไม่ออก คุ้น ๆ ติดอยู่ตรงปลายจมูกทุกทีไป แก้โดยจดคำเหล่านั้นลงในโพสต์อิทแล้วแปะไปข้าง ๆ หน้ากระดาษ หรือแปะมันไปทุกที่เลยค่ะ หัวเตียง โคมไฟ บันใด ประตู พอเห็นบ่อย ๆ ก็จะจำขึ้นใจได้เอง
เพียงเท่านี้วิชาท่องจำยาว ๆ ชวนปวดหัวก็จะไม่ใช่วิชาที่ยากที่จำยากน่าเบื่ออีกต่อไปแล้ว
วิชาเรียนประเภทต้องเข้าใจ
ตัวอย่างของวิชาประเภทนี้ได้แก่ เคมี คณิตศาสตร์ หรือวิชาคำนวณต่าง ๆ บางคนก็เกลียดแสนเกลียดวิชาแบบนี้ แต่บางคนก็ชอบเพราะไม่ต้องใช้ความจำมาก แค่ทำความเข้าใจให้ดี ตีโจทย์แตก ก็ทำข้อสอบได้แล้ว พูดไปก็เหมือนจะง่าย แต่ลองได้เรียนจริง ๆ ทำข้อสอบจริง ๆ มันไม่ง่ายเลยสักนิด อย่างไรก็ตามการเรียนพิเศษที่บ้านก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เรียนวิชาเหล่านี้ได้อย่างสบายใจขึ้น ดังนี้
-
ยังปักหลักยืนยันกันที่ให้ติวเตอร์อธิบายแบบใช้ภาษาง่าย ๆ บ้าน ๆ ในการสอนวิเคราะห์โจทย์ เพราะจะทำให้สับสนน้อยกว่าภาษาวิชาการอย่างที่หลาย ๆ คนเจอกันในห้องเรียนปกติ
-
ใช้รูปภาพช่วยคำความเข้าใจ รูปภาพเป็นศิลปะขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีติดตัวอยู่แล้ว สกิลอาจจะต่างระดับกันไปไต่ตั้งแต่อนุบาลยันขั้นเทพ ขุดทักษะวาดรูปนี้มาใช้ ตีโจทย์ให้ออกมาเป็นรูปภาพ จะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดกว่าตัวหนังสือยาว ๆ ในหน้ากระดาษ
-
พยายามตะลุยโจทย์เยอะ ๆ จากหลาย ๆ ที่ การทำโจทย์จากหลาย ๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น เพราะโจทย์จากแต่ละที่จะมีการพลิกแพลงไม่เหมือนกัน
วิชาเรียนประเภทต้องฝึกฝน
กลุ่มวิชาโปรดของคนขยันโดยแท้ เป็นวิชาที่ต้องใช้การฝึกฝน ซึ่งได้แก่วิชาภาษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน หากจะเก่งได้ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนทั้งนั้น แต่ว่าถ้าฝึกพูดกับตัวเองหน้ากระจกเบื่อแล้ว ฝึกเขียนเองก็ไม่มีคนมาคอยตรวจเช็คถูกผิดแก้ไขให้ หรือกระทั้งฟังก็มีบ้างที่ฟังไม่ออก แก้ง่าย ๆ ด้วยการใช้เวลาหลังเลิกเรียน หรือวันเสาร์อาทิตย์เพื่อเรียนพิเศษที่บ้านจะดีกว่า โดยอาศัยร่วมมือฝึกฝนกับติวเตอร์
-
ฟัง: ฟังอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเพลง หนัง ทอล์กโชว์ต่าง ๆ ในภาษานั้น ๆ แล้วเปิด Subtitle ถ้าใครต้องการเก็บคำศัพท์ก็ให้เปิดซับไทย แต่ถ้าใครหวังผลที่สกิลฟังล้วน ๆ ให้เปิดซับของภาษานั้น เพื่อที่จะได้ฟังการออกเสียงให้ชัด ๆ ไปเลย
-
พูด: การพูดคุยกับเจ้าของภาษาให้ผลดีที่สุดสำหรับการฝึกฝนนี้ แต่ครั้นจะหาฝรั่งต่างชาติมาคุยด้วยก็ไม่รู้จะไปหาจากไหน เพราะฉะนั้นจัดคอร์สเรียนพิเศษที่บ้านแล้วก็จับคู่คุยกับติวเตอร์ให้รู้แล้วรู้รอด อาจจะมีการตั้งกฎขึ้นมาว่า ระหว่างเรียนคลาสนี้จะไม่มีการสนทนาภาษาไทยเลย ก็จะช่วยได้มาก ๆ ทีเดียว
-
เขียน: เริ่มฝึกฝนง่าย ๆ ด้วยการเขียนไดอารีเป็นภาษาต่างประเทศ มีหลายคนลองมาแล้วก็ได้ผลจริง ๆ อาจจะเริ่มด้วยประโยคง่าย ๆ แล้วไต่ระดับไปถึงการใช้สำนานวนต่าง ๆ จะทำให้การเขียนไม่น่าเบื่อ หรือฝึกเขียน essay อย่างน้อยสัปดาห์หนึ่งเขียนสักหนึ่งเรื่องก็ได้ เขียนเรื่องที่ตัวเองสนใจจริง ๆ แล้วเอาไปให้ติวเตอร์ช่วยตรวจแก้ไขให้ วิธีนี้ก็ช่วยได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
แบ่งกลุ่มเนื้อหาวิชาที่เรียนว่าอยู่ในประเภทไหน แล้วนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับการเรียนพิเศษที่บ้าน หรือประยุกต์ใช้กับการเรียนในห้องเรียนปกติ เมื่อจับจุดได้จะทำให้เรียนโดยไม่รู้สึกเบื่อวิชานั้น ๆ อีกต่อไป ผลการเรียนดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ลองดูนะคะ
บทความล่าสุดอื่นๆ