น้องๆ ที่สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะเเนนไม่ดี บางคนสอบตก สาเหตุหลักมาจากน้องๆเรียนคณิตศาสตร์ไม่เป็น บางคนเรียนคณิตศาสตร์เหมือนกับวิชาสังคม ซึ่งทั้งสองวิชามีวิธีการเรียนที่เเตกต่างกันสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น นักเรียนจะท่องจำสูตรเเละสมการเเบบเดียวกับท่องจำวันที่เเละเหตุการณ์ตามเเบบวิชาสังคม ซึ่งถ้าน้องสอบวิชาสังคม น้องสามารถเล่าเรื่องเเละลำดับเหตุการณ์วันที่ได้อย่างดี เพราะน้องจำเหตุการณ์ได้ เเต่ต่างกับวิชาคณิตศาสตร์ ที่การจำสูตรเเเละสมการได้ช่วยทำให้นักเรียนเเก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้ น้องสามารถเขียนสูตรได้ เเต่เเก่ปัญหาไม่ได้ก็จบ ดังนั้นน้องๆ จึงจำเป็นต้องรู้วิธีการเทคนิคการเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ เพื่อช่วยให้ทำข้อสอบได้คะเเนนดี
เข้าเรียน
การเรียนในห้องเรียนมีความสำคัญต่อการเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ เพราะการเรียนคณิตศาสตร์ต้องอาศัยความเข้าใจ เเละคำอธิบายอย่างชัดเจน ดังนั้นถ้าน้องขาดเรียนนอกจากจะทำให้ตามเพื่อนไม่ทันเเล้ว ยังทำให้เรียนไม่เข้าใจอีกด้วย อีกทั้งสิ้งที่ครูอธิบายอาจจะเป็นข้อสอบ การเข้าห้องเรียนจึงเป้นิส่งจำเป็น ทำให้น้องเข้าใจเนื้อหา รู้ที่มาที่ไปของสูตร ทฤษฎี เเละสามารถเเก้โจทย์คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนได้ เมื่อน้องเข้าใจก็ย่อมทำข้อสอบได้
ดูตำราอ่านหนังสือ
วิธีการอ่านหนังสือคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพียงเเค่การอ่านตัวอย่างเท่านั้น เเต่ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งรวมถึงคำอธิบาย วิธีการพิสูจน์มีประโยชน์ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เเละรู้ที่มาที่ไปของสูตร ถ้าน้องอ่านหนังสือเเละลองเเก้โจทย์เเล้วยังไม่เข้าใจ ให้ปรึกษาติวเตอร์จุฬา
ทำแบบฝึกหัด
เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ต้องหัดทำเเบบฝึกหัดบ่อยๆ ต้องลงมือทำ จะอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เก่งหรือสอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่านได้ ดังนั้นให้ความสำคัญกับการทำการบ้านเเละหาเวลาทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนบ่อยๆ เมื่อถึงเวลาสอบน้องจะสามารถทำข้อสอบได้อย่างง่ายดาย เพราะข้อสอบส่วนใหญ่ก็มาจากการบ้านเเละหนังสือที่เรียนนั่นเอง ข้อสำคัญในช่วงเวลาที่หัดทำเเบบฝึกหัด หากเกิดติดขัดเเก้ปัญหาโจทย์ไม่ออก อย่าเพิ่งรีบเปิดดูเฉลยทันที ให้น้องพยายามเเก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เเล้วจึงดูเฉลยภายหลัง เเล้วศึกษาดูจากเฉลยว่ามีวิธีการเเก้โจทย์อย่างไร ฝึกทำเเบบฝึกหัดบ่อยๆ เเล้วจะเก่งเอง
จับกลุ่มเรียนพิเศษกับเพื่อน
หากเป็นไปได้ให้จับกลุ่มกับเพื่อนๆ เพื่อติวคณิต เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ด้วยกัน เเต่ละคนจะเห็นเนื้อหาที่เเตกต่างกัน บางเนื้อหายากสำหรับน้อง เเต่สำหรับเพื่อนหรือ ติวเตอร์สอนพิเศษ คนอื่นๆ อาจจะเป็นเรื่องง่าย การติวกับเพื่อนจึงเป็นการเเบ่งปันความรู้ทำให้เข้าใจในเนื้อหาวิชาง่ายขึ้น น้องอาจจะเเบ่งกันทำการ์ดความจำเเล้วเเบ่งกันอ่าน หรือตั้งคำถามถามตอบ จะช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์ เมื่อเข้าใจก็สามารถจำได้ เเก้โจทย์ได้ เเละย่อมสอบได้เป็นผลพวงตามมา
ถามคำถาม
น้องๆทำการบ้านเเต่ยังไม่เข้าใจโจทย์หรือวิธีการเเก้โจทย์ให้เก้ยคำถามไว้ถามพี่ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษ หรือเพื่อนน้องคนอื่นที่เก่งคณิต ไม่ต้องอายที่จะถามคำถามกับคนอื่น หรือกลัวคนอื่นจะคิดว่าโง่ ถ้ามีข้อสงสัยไม่ว่าจะในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ให้ถามผู้รู้ น้องที่เก่งคณิตศาสตร์ฏ้เป็นคนช่างถามเหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องกลัวหรืออายที่จะถาม เพราะถ้าติด F มันน่าอายมากกว่า
ทบทวนก่อนสอบ
น้องหลายคนประมาท คิดว่าอีกลหายเดือนกว่าจะสอบทำให้ไม่อ่านหนังสือไม่ทบทวนบทเรียน พอถึงเวลาสอบเข้าจริงๆ ก็เร่งอ่านหนังสือจนอ่านไม่ทัน ผลลัพธ์ที่ตามมาคือสอบตก โดยเฉพาะกับวิชาคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้เวลาสะสมความรู้ตลอดเวลา น้องจะต้องทบทวนทั้งเนื้อหาเก่าเเละเนื้อหาใหม่ เพราะเนื้อหาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เชื่อมสัมพันธ์กัน หากไม่เข้าใจเนื้อหาเก่าก็จะทำให้งงกับเนื้อหาใหม่ได้ ดังนั้นต้องวางเเผนในการเรียนให้ดี เข้าเรียนประจำ ทำการบ้านส่ง ถามเมื่อสงสัย ทบทวนหัดทำเเบบฝึกหัดบ่อยๆ ถ้านักเรียนเตรียมตัวมาดี เมื่อถึงเวลาสอบก็ไม่ต้องกังวลเรื่องที่จะทำข้อสอบไม่ได้
หลับให้สบายก่อนคืนวันสอบ
คืนก่อนสอบหลับให้สบาย ห้ามดูหนังสือดึกๆดื่นๆ จนวินาทีสุดท้าย เวลาที่น้องได้นอนอย่างเต็มที่จะช่วยทำให้สมองปลอดโปร่งในยามตื่นนอน ช่วยทำให้ความจำดี เราเตรียมพร้อมมาอย่างดี เเละเราทำได้ดี
อ่านข้อสอบเเบบคร่าวๆ
เริ่มต้นทำข้อสอบให้น้องเปิดข้อสอบอ่านเเบบค่าวๆ ตรวจดูว่ามีข้อสอบทั้งหมดกี่ข้อ เป็นข้อสอบเเบบไหน มีให้เเสดงวิธีทำหรือไม่ การเปิดอ่านข้อสอบก่อนลงมือทำข้อสอบ ช่วยให้น้องจัดการเวลาในการทำข้อสอบได้อย่างดี ช่วยให้รู้ว่าข้อสอบหนึ่งข้อควรใช้เวลานานเท่าไร ถ้าน้องติดกับคำถามยากๆ ให้เปลี่ยนไปทำคำถามที่ง่ายก่อน เเละเมื่อมีเวลาค่อยย้อนกลับมาทำคำถามที่ค้างไว้ ที่สำคัญอย่าเร่งตัวเองจนขาดสมาธิในการทำข้อสอบ
เขียนตัวเลขให้ชัดเจน
ข้อสอบคณิตศาสาตร์มีทั้งอัตนัยเเละปรนัย หากเป็นข้อสอบปรนัยให้นักเรียนกากบาทหรือวงกลมให้ชัดเจน หากเปลี่ยนคำตอบก็ให้ฆ่าคำตอบที่ไม้ต้องการให้เห็นว่าไม่ต้องการ เเละถ้าเป็นข้อสอบอัตนัย ที่น้องต้องเเสดงวิธีทำ ต้องระวังเรื่องการเขียนตัวเลข เครื่องหมายสัญลักษณ์ให้ชัดเจนด้วย เพราะมีเหตุที่ทำให้น้องเเก้โจทย์ได้ เเต่ผิดพลาดคือการเขียนตัวเลขไม่ชัดเจน ทำใหเครูตรวจข้อสอบผิด ทำให้เสียคะเเนนได้
ตรวจทานข้อสอบ
หากมีเวลาพอหลังจากที่ทำข้อสอบเสร็จ อย่าเพิ่งส่งข้อสอบ ให้ตรวจทานข้อสอบให้เรียบร้อย ตรวจดูว่า ไม่ได้ตอบคำถามข้อไหนบ้าง คำถามเเละคำตอบให้ตรงกัน ดูว่าเขียนตัวเลขชัดเจนไหม เเละอ่านทวนว่าคำถามเเละคำตอบนั้นน่าจะถูกต้องหรือไม่ ใช้เวลาที่เหลือจากการทำข้อสอบตรวจทานคำตอบให้ดี เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดจะได้เเก้ไขได้ทัน
บทความจาก Dr.Bart Pieter Feijin
บทความล่าสุดอื่นๆ